1.”ประเมินสถานการณ์”
เมื่อเจอสถานการณ์แบบนี้ ควรหยุดรถและประเมินสถานการณ์เป็นอันดับแรก
1.1. คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นลำดับแรก จำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่จะต้องลุยน้ำและสังเกตรถคันอื่นว่าผ่านไปได้หรือไหม
1.2. หลีกเลี่ยงช่องทางที่มีน้ำท่วมสูง ควรเลือกกึ่งกลางถนนหรือช่องทางเดินรถที่สูงกว่า
1.3. ไม่ควรชิดขอบทางด้านซ้ายมากเกินไป เนื่องจากอาจมีฝาท่อระบายน้ำที่ต่างระดับหรือขอบฟุตบาทที่ผิวน้ำท่วมอยู่
ซึ่งมองไม่เห็นอาจทำให้เกิดอันตรายได้
2.”เกียร์ต่ำ เลี้ยงรอบเครื่อง”
2.1. .การขับขี่ผ่านน้ำท่วมขังควรขับขี่ด้วย “ความเร็วต่ำ” เพื่อความปลอดภัย
ของผู้ขับขี่เองจากแรงปะทะของน้ำและลดโอกาสที่น้ำกระเด็นไปโดนผู้อื่น
2.2. ควรขับขี่ด้วยเกียร์ “ต่ำ” พร้อมทั้ง “เร่งรอบเครื่องยนต์” ให้สูงกว่าปกติเลี้ยงน้อยเพื่อป้องกันเครื่องยนต์ดับ
2.3. ไม่ควรขับขี่ผ่านน้ำท่วม ที่ระดับน้ำสูงถึงกรองอากาศหรือท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์
** (รถเกียร์อัตโนมัติ ไม่ควรขับขี่ผ่านระดับน้ำสูงถึงสายพาน อาจส่งผลต่อระบบส่งกำลัง)
3.”เบรกอย่างนิ่มนวล”
เนื่องจากน้ำท่วมผิวจราจร ทำให้การยึดเกาะของยางกับผิวถนนลดลง
3.1. ไม่ควรใช้เบรก “อย่างรุนแรง” อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
3.2. ทรงตัวอย่างมั่นใจ ใช้ “เบรกหลัง” สำหรับการควบคุมรถที่ความเร็วต่ำควรใช้เบรกหลังอย่างนิ่มนวล
โดยใช้ปลายเท้ากดแป้นเบรกและปล่อยออกเมื่อความเร็วลดต่ำลงเพราะจะทำให้คุณควบคุมและทรงตัวได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น
4.”ตรวจเช็คระบบเบรก”
หลังจากผ่านช่วงน้ำขังพื้นผิวจราจรมาแล้วผู้ขับขี่ควรเช็คระบบห้ามล้อ (ระบบเบรก) เป็นลำดับแรกเพื่อความปลอดภัย
4.1. เมื่อผ่านน้ำท่วมแล้วควรใช้เบรกอย่างนิ่มนวล ทั้งเบรกหน้าและเบรกหลัง
กด-ปล่อย สลับๆกันหรือขับเลียเบรกเพื่อเป็นตรวจเช็คการทำงาน และทำความสะอาดผ้าเบรก ซึ่งอาจมีคราบสิ่งสกปรกติดมาระหว่างที่ขับลุยน้ำ